เรื่องของโอเมก้าที่ควรรู้

โอเมก้า สารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากมีการหยิบยกเข้ามาไว้ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มากมาย เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับเด็ก ที่เห็นหรือได้ยินกันบ่อยๆ ตามโฆษณา ดังนั้นคงแปลกมาก ถ้าจะไม่ทำความรู้จักกับโอเมก้า เรื่องใกล้ตัว เรื่องปากท้องและการดูแลสุขภาพ มาทำความรู้จักกับเจ้าโอเมก้าพวกนี้กันว่ามีอะไรบ้าง

โอเมก้าเป็นกลุ่มของกรดไขมันที่ส่วนใหญ่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และหากขาดไปจะทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับกรดไขมันเหล่านี้เข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โอเมก้าที่เคยได้ยินส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นโอเมก้า 3 6 และ 9 มาทำความรู้จักเจ้าโอเมก้าเหล่านี้กัน

เริ่มต้นด้วย โอเมก้า3และ 6 กรดไขมันจำเป็นที่พบได้น้อยมากในน้ำมันทั่วไป เป็นสารตั้งต้นของ

Prostaglandins ซึ่งมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ กลไกการเข็งตัวของเลือด การส่งผ่านของสารสื่อประสาท กระบวนการเผาผลาญไขมัน กลไกการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกัน โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ไขข้ออักเสบ มะเร็ง เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันกลุ่มนี้ จะไม่ได้เข้าไปเพิ่มระดับไขมันในร่างกาย ในภาวะปกติร่างกายจะมีความสมดุลของโอเมก้า3 และ6 แต่ถ้าเมื่อไหร่เสียสมดุล ร่างกายก็จะแสดงออกถึงอาการที่ไม่ปกตินั้นออกมา

โอเมก้า3 เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น ชนิดไม่อิ่มตัว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ EPA และ DHA EPA มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงช่วยลดอาการของไมเกรนได้อีกด้วย สำหรับ DHA นั้น มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างชัดเจน โดยมีผลต่อพัฒนาการของสมอง การมองเห็นของทารกและเด็ก อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อม
(Alzeimer’s disease) ในผู้ใหญ่ ช่วยลดอาการซึมเศร้า และยังมีความสำคัญต่อเรตินาของดวงตาด้วยดังนั้นเมื่อกล่าวถึงประโยชน์โดยรวมของโอเมก้า3 แล้ว โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระบบหลอดเหลือด การหมุนเวียนและการแข็งตัวของเลือด ความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันเฉียบพลัน ช่วยควบคุมอาการอักเสบ ปวด บวม อาการปวดข้อรูมาตอยด์ โรคผิวหนังบางชนิด โอเมก้าชนิดนี้สามารถพบได้ใน

โอเมก้า6 กรดไขมันจำเป็น ที่พบได้ในน้ำมันพืชและถั่วชนิดต่างๆ และยังสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์จำพวกปลาต่างๆ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล งานวิจัยของ Dr. Willoam Harris เผยแพร่ใน

วารสาร Journal of the American Heart Association กล่าวว่า หากเพิ่มอาหารที่มีโอเมก้า6 เข้าไปในมื้ออาหารที่รับประทานเป็นประจำทุกวัน สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจได้แบบง่ายๆ เพราะเมื่อหันมารับประทานอาหารที่มีโอเมก้า6 แทนไขมันอิ่มตัว ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดจะลดลง ทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น

โอเมก้า9 (Oleic Acid) กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้ เพียงแค่มีโอเมก้า3และโอเมก้า6 เป็นวัตถุดิบ กรดไขมันชนิดนี้พบได้ทั้งในสัตว์และพืช แหล่งที่สามารถพบได้มาก เช่น คาโนลา ถั่วลิสง น้ำมันดอกทานตะวัน ซีบัคธอร์น เมล็ดงา ถั่วพิตาชิโอ อัลมอนด์ อะโวคาโด เป็นต้น ในภาวะที่ร่างกายมีโอเมก้า9 ไม่พอหรือขาด จะมีอาการผมร่วง มีรังแค ผิวแห้ง ตาแห้ง การเต้นของหัวใจผิดปกติ เจ็บตามข้อต่างๆ เป็นต้น

ร่างกายจะได้รับประโยชน์จาก โอเมก้า9 ในเรื่องที่สัมพันธ์กับสารที่มีชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน มีหน้าที่ที่หลากหลายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ/อักเสบ การหดเร็งของกล้ามเนื้อเรียบโดยเฉพาะมดลูกและหลอดเลือด ลดความดันในลูกตา ช่วยการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ การรับประทานโอเมก้า9 ยังช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลชนิด LDL ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ และคุณสมบัติที่สำคัญอีกข้อก็คือ โอเมก้า9 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโอเมก้า3และ6

ดังนั้นกล่าวโดยรวมแล้วประโยชน์ของโอเมก้า3 6 และ 9 ได้แก่

โอเมก้า3 6 และ 9 ช่วยลดการดูดซึมไขมันอิ่มตัวที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับไขมันไม่ดีน้อยลง

ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง และช่วยลดความรุนแรงของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ไขข้ออักเสบ

ช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดี ลออัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานได้เป็นปกติ

ช่วยให้เยื่อบุเซลล์มีสุขภาพที่ดี ลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนัง ฟื้นฟูสภาพผิวที่เสียจากการถูกทำลายของรังสีอัลตราไวโอเลต ลดการอักเสบที่ผิว (โดยเป็นสารตั้งต้นของ eicosanoids) บรรเทาอาการคันและผื่นที่ผิวหนัง บำรุงผม ผิว และบรรเทาอาการสะเก็ดเงิน

บำรุงสายตา สมอง ต้านภาวะซึมเศร้า ป้องกันอัลไซเมอร์

บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อาการที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน

โอเมก้า7 (Palmitoleic acid) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบได้มากในน้ำมันที่สกัดจากถั่วแมคคาเดเมีย และน้ำมันสกัดซีบัคธอร์น ทราบกันหรือไม่ว่าปัจจัยหลักของภาวะบกพร่องของระบบเผาผลาญมีอะไรบ้าง หนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นคำตอบก็คือ การที่ร่างกายขาดหรือได้รับ โอเมก้า7 จากอาหารน้อยเกินไปจนไม่พอ สภาวะบกพร่องทางการเผาผลาญ (Metabolic Syndrome) เป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสาเหตุหลักของการนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย การบริโภคโอเมก้า7 เพิ่มจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่2 เพิ่ม HDL ลดการอักเสบที่อสจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

โอเมก้า7 มีประสิทธิภาพและความสามารถในการลดความเสี่ยงจากผลกระทบทางด้านลบที่เกิดจากภาวะ metabolic Syndrome รวมทั้งโรคเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตในด้านอื่นๆ

โอเมก้า3 เป็นโมเลกุลที่ต้านการอักเสบ แต่โอเมก้า7 เป็นตัวส่งสัญญาฯให้เกิดการสื่อสารระหว่างไขมันและเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อในร่างกาย โอเมก้า7 ตัวรับสัญญาณนี้มีชื่อว่า Lipokine เป็นโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนที่เชื่อมโยงเนื้อเยื่อร่างกายที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้พลังงานและการเก็บรักษาพลังงานเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม การบริโภคโอเมก้า7 เพียงเล็กน้อยต่อวัน มีผลอย่างยิ่งต่อการตอบสนองของร่างกายทางด้านการนำพลังงานไปใช้ การเก็บสะสมไขมัน ซึ่งทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับภาวะบกพร่องของการเผาผลาญโอเมก้า7 ยับยั้งการผลิตไขมันใหม่ โดยเฉพาะไขมันเลวที่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

โอเมก้า7 ปัจจัยต่อสู้กับภาวะบกพร่องของการเผาผลาญ ขณะที่ทางการแพทย์ให้คำจำกัดความว่าภาวะดังกล่าวเป็นต้นเหตุหลักของภาวะโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวานชนิดที่2 รวมถึงภาวะต้านอินซูลิน ไตรกลีเซอไรด์สูง HDLต่ำ ความดันโลหิตสูงและการอักเสบเรื้อรัง

ดังนั้น เมื่อได้ทำความรู้จักกับโอเมก้าต่างๆ และประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทานโอเมก้าแต่ละชนิด ไม่ว่าจะได้รับจากพืช สัตว์หรือแม้แต่ในภาวะที่ร่างกายสร้างขึ้นเองหากมีแหล่งวัตถุดิบที่พร้อม ประโยชน์หลักต่างๆ ในหลากหลายด้านของการดูแลร่างกายจากการได้รับโอเมก้านั้นน่าอัศจรรย์มาก แต่จะเป็นการดียิ่งหากเราได้รับโอเมก้าที่หลากหลายครบถ้วนจากแหล่งของโอเมก้าธรรมชาติ ซึ่งหาได้ไม่ยากจากซีบัคธอร์น พืชตระกูลเบอรรี่ที่รวมรวบโอเมก้าไว้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการและยังเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ หรือจะเป็นจากพืชชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็ไม่ยากเกินไปที่จะหามารับประทานกัน

ขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com

by admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *