มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายของคุณผู้หญิง

คุณผู้หญิงหลายท่านกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ก็เข้าขั้นลุกลามไปแล้ว ทำให้รักษาไม่ทัน และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เราสามารถป้องกันดูแลรักษาให้หายได้ ถ้าหากรู้เร็วและรักษาได้ทัน เรามาดูกันก่อนว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรได้บ้าง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

* การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

* การสูบบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นสองเท่า

* ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

* การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น

* อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้

* ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานาน

* การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ

* ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

* การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย

* การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน

* พันธุกรรม

สัญญาณเตือนภัยในการเป็นมะเร็งปากมดลูก

* ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการเลยหรืออาจมีเลือดออกจาก ช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์

* ประจำเดือนมาผิดปกติ

* ตกขาวมีกลิ่น ปริมาณมาก สีผิดปกติ หรืออาจปนเลือด

*รู้สึกเจ็บและมีเลือดออกในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ และหลังมีเพศสัมพันธ์

การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูก

ถึงแม้ว่ามะเร็งปากมดลูกจะฟังดูน่ากลัว แต่ก็ยังสามารถป้องกันได้และยังสามารถลดความเสี่ยงได้ วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก **ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยจะสามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70 % **งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับที่มีคนสูบบุหรี่ประจำ **กินผักผลไม้ให้มาก **ไม่ใส่ชุดชั้นในซ้ำๆติดๆกันเป็นเวลานาน **รักษาความสะอาดช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ **ทำการตรวจคัดกรองเพื่อหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก เป็นประจำทุกๆ ปี

หากคุณอยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือ เริ่มมีสัญญาณเตือนภัยตามข้อมูลดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจหามะเร็ง อย่ารอให้ทุกอย่างสายเกินไป

Cr : wikipedia.org

by admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *