ไวรัส HPV สาเหตุใหญ่ของโรคมะเร็งปากมดลูก

หากพูดถึง ไวรัส HPV หลายๆท่านคงเคยได้ยินมาบ้าง ซึ่งเป็นไวรัสตัวร้ายที่เป็นสาเหตุใหญ่ของโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกมากมาย

ก่อนอื่นเราคงจะต้องมาทำความรู้จักกับ ไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus กันก่อน โดย นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี ได้ระบุว่า เชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus เป็นไวรัสตัวหนึ่งที่มีสายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด แต่ละสายพันธุ์จะก่อให้เกิดโรคได้ต่างชนิดกัน โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนักที่รู้จักกันดีคือ สายพันธุ์ เบอร์ 6, 11, 16 และ 18 18 ซึ่งการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณมดลูกและสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งที่ปากมดลูกในที่สุด โดยเบอร์ 6 และ 11 เป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงก่อให้เกิดมะเร็งได้ต่ำ (Low-risk) ขณะที่สายพันธุ์เบอร์ 16 และ 18 นั้นเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้สูง (High-risk)

ซึ่งโดยส่วนมากการติดเชื้อ HPV มักจะไม่แสดงอาการและสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานในร่างกายของแต่ละคน ทว่าบางเคสอาจมีการติดเชื้อ HPV นานหลายปี และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด


HPV มีอาการเป็นอย่างไร มีข้อสังเกตจากตรงไหนได้บ้าง ?

1.มีตุ่มลักษณะเหมือน มีหูดขึ้น เช่น ตุ่มนูน ตุ่มเรียบแบน ตุ่มสีชมู หรือตุ่มมีสีเนื้อ บ้านรายมีหูดขึ้นหลายๆตุ่ม มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง บ้างคนขึ้นมาก บ้างคนขึ้นน้อยแตกต่างกันไป ไม่มีอาการเจ็บ สัญญาณเหล่านี้สามารถบงบอกได้ถึงว่าเรากำลังติดเชื้อ HPV ได้
หูดนี้สามารถขึ้นได้ทั้งบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก อัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ หรือขาอ่อน และสามารถขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ HPV ประมาณ 1-4 สัปดาห์ เป็นต้นไป
2. คัน แสบร้อน หรือรู้สึกตึงบริเวณที่ติดเชื้อ HPV ได้
3.มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
4. ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
5. มีตกขาวในปริมาณมากกว่าปกติ
6. ประจำเดือนมาผิดปกติ
7. มีสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาการนี้อาจพบได้น้อยมาก
8. ท่อทางเดินปัสสาวะอุดตัน อาจมีอาการปัสสาวะขัด (พบได้น้อยมาก)

แนวทางการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HPV

*สวมถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์

*ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

*ทำความสะอาดอวัยวะให้สะอาดอย่างถูกวิธี

*รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

*ออกกำลังกายบ้าง เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง

*ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้

ทั้งนี้ แพทย์ได้แนะนำว่า ถึงแม้ว่าจะมีการป้องกันการติดเชื้อ HPV หรือแม้จะได้รับวัคซีน HPV แล้วก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ซึ่งมีเพศสัมพันธ์แล้ว ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือผู้หญิงมีอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม ควรจะเข้ารับการตรวจภายในปีละ 1 ครั้ง หรือบ่อยตามแพทย์แนะนำ แม้จะไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

kapook.com
CHULA CANCER
Centers for Disease Control and Prevention
WebMD

สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย